ผลิตภัณฑ์ ฮับบะตุสเซาดะอ์





ย่อยข่าวงานวิจัย

ผลน้ำมันเทียนดำ (Black caraway) ต่อน้ำหนักตัวของหนูที่เป็นเบาหวาน
การศึกษาในหนูแรท 40 ตัว น้ำหนัก 145-240 กรัม โดยแบ่งหนูขาวออกเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัว โดยให้กลุ่มที่ 1 เป็นชุดควบคุม กลุ่มที่ 2 ให้น้ำมันเทียนดำ 10 มลก./กก.น้ำหนักตัว โดยต่อท่อเข้าทางกระเพาะอาหาร กลุ่มที่ 3-8 ชักนำให้เกิดเบาหวานโดยการฉีด alloxan 70 มลก./กก.น้ำหนักตัว และต่อท่อเข้าทางกระเพาะเพื่อให้น้ำมันเทียนดำแก่หนูในกลุ่มที่ 4-8 ในปริมาณ 5, 10, 20, 40 และ 80 มลก./กก.น้ำหนักตัว ตามลำดับ แล้วทำการชั่งน้ำหนักหนูทุกวัน เป็นเวลา 10 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่าหนูชุดควบคุม และหนูกลุ่มที่น้ำมันเทียนดำ 10 มลก./กก.น้ำหนักตัว (กลุ่มที่ 2 และ 5) มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และเมื่อทดสอบปริมาณน้ำตาลในเลือดหนูที่ถูกชักนำให้เกิดเบาหวานพบว่า หนูกลุ่มที่ได้รับน้ำมันเทียนดำ 10 มลก./กก.น้ำหนักตัว (กลุ่มที่ 5) มีปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าหนูเบาหวานที่ไม่ได้รับน้ำมันเทียนดำ (กลุ่ม 3) แสดงให้เห็นว่าการให้น้ำมันเทียนดำปริมาณ 10 มลก./กก.น้ำหนักตัว เป็นปริมาณที่ปลอดภัย สามารถเพิ่มน้ำหนักตัวให้ทั้งหนูปกติและหนูที่เป็นเบาหวาน และช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้
J Pharmacology and Toxicology 2008; 3(2):141-6

หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ถนนศรีอยุธยา พญาไท กทม. 10400 Tel. 0-2644-8677-91 ต่อ 5305, 5316


มะกอก (زَيْتُوْن)


โดย...อาลี เสือสมิง




มะกอก (زَيْتُوْن ) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ Spondias pinnata Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ใบอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผักดิบ ผลขนาดลูกหมากดิบ เมื่อสุกมีรสเปรี้ยวเจือฝาดใช้ปรุงอาหาร รากและเมล็ดใช้ทำยาได้, มะกอกบ้าน หรือมะกอกป่า ก็เรียก

มะกอกฝรั่ง ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Spondias cytherea Sonn ในวงศ์ Anacardiaceae ผลใหญ่ เนื้อหนากรอบ กินดิบๆ ได้

มะกอก น้ำ ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Elaeocarpus hygrophilus Kurz ในวงศ์ Elaeocarpaceae มักขึ้นริมน้ำ ผลเล็กรี รสเปรี้ยวฝาด ใช้ดองเป็นอาหาร


ชาวอาหรับเรียกมะกอกรวมๆ ว่า “ซัยตูน” (زَيْتُوْن ) ซึ่งมาจากคำว่า ซัยตฺ (زَيْتٌ ) คำว่า “ซัยตฺ” ยังหมายถึง น้ำมันที่สกัดจากมะกอกหรือน้ำมันพืชโดยทั่วไป เช่น ซัยตฺซัยตูน (น้ำมันมะกอก), ซัยตฺซุรเราะฮฺ (น้ำมันข้าวโพด) และซัยตฺอันนัคละฮฺ (น้ำมันปาล์ม) เป็นต้น

คำ ว่า “ซัยตฺ” ถูกระบุไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน 1 แห่งในบทอันนู๊ร อายะฮฺที่ 35 มีใจความว่า: อัลลอฮฺทรงเป็นดวงประทีปแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน อุปมาดวงประทีปของพระองค์เสมือนดังช่องตามผนังที่มีตะเกียงอยู่ภายใน ตะเกียงนั้นอยู่ในโคมแก้ว อันโคมแก้วนั้นประหนึ่งดังดวงดาวที่ประกายแสงมลังมเลือง โดยมันถูกจุดขึ้นจาก (น้ำมัน) ของต้นไม้ที่มีความจำเริญ คือ ต้นมะกอก มันมิได้อยู่ทางตะวันออก และมิได้อยู่ทางตะวันตก น้ำมันของมันแทบจะประกายแสงออกมา แม้นว่าไฟมิได้สัมผัสมันก็ตาม..”


ที่ ว่า ต้นมะกอกไม่ได้อยู่ทางตะวันออก และมิได้อยู่ทางตะวันตกนั้น เพราะมันเป็นไม้ยืนต้นที่ขึ้นอยู่ในเขตทะเลทรายของดินแดนกึ่งกลางของโลกตาม แผนที่ ความร้อนและแสงแดดได้แผดเผาผลมะกอกจนสุกงอม และน้ำมันที่สกัดจากผลมะกอกนั้นก็ใสสะอาด ความใสสะอาดของน้ำมันมะกอกเกือบจะประกายแสงออกมาในตัวมันเอง แม้ ว่าจะไม่ได้เอาไฟไปจุดให้มันลุกโพลง ความของอายะฮฺนี้เป็นการอุปมาอุปมัยความบริสุทธิ์แห่งหลักคำสอนของอิสลามที่ พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ) ทรงประทานให้กับเหล่ามวลบ่าวนอกเหนือจากความมหัศจรรย์ของต้นมะกอกและน้ำมัน ของมัน


ส่วน คำว่า “อัซซัยตูน” นั้นถูกระบุไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน 6 แห่งด้วยกัน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวของสวนผลไม้ที่มีผลไม้หลากชนิด และกล่าวถึงผลไม้ในสวนสวรรค์ พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ) ทรงสาบานด้วยมะเดื่อและมะกอกในบทอัตตีน อายะฮฺที่ 1 ซึ่งนักวิชาการอธิบายว่าการสาบานด้วยมะเดื่อและมะกอกเป็นนัยระบุถึง ภูเขามะกอกเทศ ในดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นนิวาสถานของท่านศาสดาอีซา (อะลัยฮิซซลาม)

ทั้ง นี้นับแต่สมัยโบราณเมื่อหลายพันปีก่อน ดินแดนปาเลสไตน์มีการเพาะปลูกมะกอกและมะเดื่อ มีหลักฐานยืนยันว่า ชาวยะบู๊ส ซึ่งเป็นชาวคะนาอัน (กันอาน) เป็นกลุ่มชนรุ่นแรกๆ ที่ทำการเพาะปลูกมะกอก มะเดื่อ และองุ่น ในดินแดนนี้ และยังรู้จักการสกัดน้ำมันจากผลมะกอกอีกด้วย


มี อัลฮะดีษระบุว่า “พวกท่านจงรับประทานมะกอกและทาด้วยน้ำมันมะกอกเพราะ น้ำมันมะกอกนั้นมาจากต้นไม้ที่จำเริญ” (จากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ (ร.ฎ) บันทึกโดย อัตติรมิซีย์และ อิบนุมาญะฮฺ) และอีกบทหนึ่งระบุว่า “พวกท่านจงทำน้ำแกงด้วยผลมะกอก (หรือน้ำมันมะกอก) และทาด้วยน้ำมันมะกอก เพราะมันมาจากต้นไม้ที่จำเริญ” (จากท่านอิบนุ อุมัร (ร.ฎ) บันทึกโดย อัลบัยฮะกีย์ และ อิบนุมาญะฮฺ)

ท่าน อิบนุ อัลก็อยยิม (ร.ฎ) ระบุว่า มะกอกมีสรรพคุณร้อน น้ำที่ถูกคั้นจากผลมะกอกสุกถือว่ามีประโยชน์มาก ผลสีดำมีสรรพคุณล้างพิษและเป็นยาระบาย ขับพยาธิ และชะลอความแก่ น้ำผลมะกอกที่ผสมเกลือจะบรรเทาอาการพุพองของแผลที่เกิดจากไฟไหม้ ทำให้เหงือกแข็งแรง ใบมะกอกมีสรรพคุณแก้ผื่นผดคัน งูสวัด เริม และห้ามเลือด (ซาดุ้ลมะอ๊าด, อิบนุ อัลก็อยยิม 3/272)
นักการ แพทย์สมัยใหม่ได้วิจัยถึงสรรพคุณของมะกอกและน้ำมันมะกอก พบว่า การบริโภคอาหารของพลเมืองรอบๆ เขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ยุโรปตอนใต้-แอฟริกาเหนือ-เอเชียน้อย) ที่มีส่วนผสมของมะกอกและน้ำมันมะกอกมีอัตราของผู้ป่วยด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจ ตีบมีน้อยกว่าในภูมิภาคอื่นๆ ผลการวิจัยยังพบอีกว่า น้ำมันมะกอกสามารถลดปริมาณคลอเรสเตอรอลในเลือด และมีผลป้องกันโรคมะเร็งในเต้านมสำหรับสตรีที่รับประทานน้ำมันมะกอกเป็น ประจำอีกด้วย